วันพุธที่ 12 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ( ชั่วโมงที่ 7 )



Input                            Process                 Output

โรงงานน้ำตาล                      การสกัดน้ำอ้อย                       น้ำตาลทราย
เครื่องจักร      การทำความสะอาดน้ำอ้อย                       กากน้ำตาล
วัตถุดิบ                การต้มให้ได้น้ำเชื่อม
แรงงาน            การเคี่ยวให้เป็นผลึกและกาก
เงินทุน              การปั่นแยกผลึกน้ำตาล
                                 การอบ
                            การบรรจุถุง


                                       Input Process output ในมหาวิทยาลัย

อาจารย์             การจัดการเรียนการสอน                นักศึกษาคณะครุศาสตร์ที่จบปริญญา
สื่อการศึกษา                      การอบรม
นักศึกษา               การลงทะเบียนเรียน
สภานศึกษา                      การบันทึกผล
หลักสูตร                       การฝึกงาน
เงินทุน หรือ งบประมาณ กิจกรรมส่งเสริมด้านต่างๆ คุณธรรม จริยธรรม เป็นต้น



สื่อการสอน (Instruction Media)

        วาสนา ชาวหา ได้ให้ความหมายไว้ว่า สิ่งใดก็ตามที่เป็นตัวกลางหรือพาหะนำความรู้ไปสู่ผู้เรียน และทำให้ผู้เรียนสามารถเรียนรู้ได้ตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้เป็นอย่างดี

ความสำคัญของสื่อการสอน
        1. เป็นเครื่องมือช่วยสอน ผู้เรียนสามารถตามเนื้อหาได้ง่ายขึ้น
        2. เป็นเครื่องมือช่วยในการเรียนรู้ของผู้เรียน ผู้เรียนจะใช้สื่อเพื่อให้เกิดการเรียนรู้ด้วยตนเอง
        3. เป็นเครื่องมือช่วยในการจัดการเกี่ยวกับการสอน เปลี่ยนผู้สอนจาก "ผู้บอก" มาเป็น "ผู้จัดการและกำกับดูแล"
        4. เป็นเครื่องมือช่วยเพิ่มคุณภาพทางการศึกษา

คุณค่า
        1. ทำสิ่งซับซ้อนให้ดูง่ายขึ้น
        2. ทำสิ่งที่เป็นนามธรรมห้เป็นรูปธรรมมากขึ้น
        3. สิ่งที่เคลื่อนไหวเร็วให้ดูช้าลง
        4. สิ่งที่เคลื่อนไหวช้าให้ดูเร็วขึ้น
        5. ทำสิ่งที่ใหญ่มากให้เล็กเหมาะแก่การศึกษา
        6. ทำสิ่งที่เล็กมากให้มองเห็นได้ชัด
        7. นำสิ่งที่เกิดในอดีตมาศึกษาในปัจจุบัน
        8. นำสิ่งที่อยู่ไกลมาศึกษาในห้องเรียนได้

ประเภทของสื่อ

        1. Hardware สิ่งที่เป็นตัวกลางหรือตัวผ่านทำให้ข้อมูลความรู้ที่บันทึกไว้ในวัสุสามารถถ่ายทอดออกมาให้เห็นหรือได้ยิน เช่น เครื่องฉายภาพโปร่งใส (Overhead Projector) เครื่องเล่นเทป

        2. Software สื่อที่เก็บความรู้อยู่ในตัวเอง จำแนกได้ 2 ลักษณะ
              2.1 วัสดุที่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตนเอง เช่น แผนที่ ลูกโลก หุ่นจำลอง เป็นต้น
              2.2 วัสดุที่ไม่สามารถถ่ายทอดเนื้อหาได้ด้วยตนเอง  ต้องอาศัยอุปกรณ์อื่นเข้ามาช่วย เช่น แผ่นเสียง สไลด์ เป็นต้น

        3. Technique and Method หมายถึง สื่อที่มีลักษณะเน้นแนวความคิดหรือรูปแบบขั้นตอนในการเรียนการสอน เป็นสำคัญอาจจนำเอาวัสดุหรืออุปกรณ์มาช่วยในการสอนด้วยก็ได้


สื่อการสอนในทางเทคโนโลยีการศึกษา

        หมายถึง ตัวกลางที่ทำให้ความเป็นนามธรรมเปลี่ยนเป็นรูปธรรม  ...สื่อกลางของการสื่อสารและกระบวนการเรียนการสอน


เทคโนโลยีการศึกษา

        วิธีการที่เกิดประโยชน์
        เพื่อการถ่ายทอดข้อมูลความรู้


ชแรมม์ ได้จำแนกสื่อตามความเก่าใหม่ของการเกิดเป็น 4 รุ่น ดังนี้

        1. รุ่นทวด ได้แก่ กระดานชอลค การสาธิต การแสดงละคร
        2. รุ่นปู่ ได้แก่ สื่อการสอนพวกตำราเรียน แบบทดสอบ เกิดขึ้นหลังปี ค.ศ. 1450
        3. รุ่นพ่อ ได้แก่ สื่อประเภท ภาพถ่าย สไลด์ ผิลม์สตริพ
        4. รุ่นปัจจุบัน


สื่อเทคโนโลยีการศึกษา

        1. ส่อสามมิติ (Three Dimension Media) เช่น ของจริง (Realia) ของตัวอย่าง (Specimen) หุ่นจำลอง (Model) หุ่นตัดแบบ (Mock-Up)
        2. สื่อสองมิติ (Two Dimension Media) เช่น
              สื่อทึบแสง (Opaque Media) ได้แก่ รูปภาพ แผนภาพ แผนสถิติ ภาพโฆษณา แผนที่
              สื่อโปร่ง ได้แก่ แผ่นโปร่งใส สไลด์ ฟิล์มสตริพ (Filmstrip)
              สื่อโปร่งใสเคลื่อนไหว
        3. สื่ออิเล็กทรอนิกส์ (Electronic Media) เช่น เทปวิดิทัศน์ แผ่นวิดิทัศน์ คอมพิวเตอร์ เทปเสียง แผ่นเสียง


สื่อการสอน

Motion Media : Video Cassette Film
Text : Book and handouts
Audio : Radio Cassette
Object :
Visuals :

สื่อการสอนในศตวรรษที่ ๒๑ : Digital Audio, Desktop publishing, Virtual Reality, Digital Video Interactive, CD-ROM


แนวโน้มของสื่อและเทคโนโลยี

ขนาด : สื่อขนาดเล็ก
ระบบ : การใช้ระบบอิเล็กทรอนิกส์ในการับส่งข้อมูล

นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ( ชั่วโมงที่ 6 )


System

ระบบประกอบด้วยส่วนประกอบที่ได้ถูกกำหนดไว้ให้ทำหน้าที่โดยมีเป้าหมายหรือวัตถุประสงค์ร่วมกัน

        กลุ่มขององค์ประกอบต่างๆที่มีความสัมพันธ์กัน

        แต่ละองค์ประกอบมีความสำคัญ

        แต่ละองค์ประกอบจะประสานการทำงานร่วมกันเพื่อบรรลุสู่เป้าหมายเดียวกัน

A set of elements or components that interact to accomplish goals.
(Stair, Ralph M. 1996)

A group of interrlated or interacting elements forming a unified whole.

Example of system


ลักษณะของระบบเชิงกายภาพ

        ปัจจัยนำเข้า
        กระบวนการ
        ผลลัพธ์

Input > Process > Output


ประเภทของระบบ

1. ระบบปิด (Closed System)  ระบบที่โดดเดี่ยว ไม่มีการติดต่อกับระบบอื่นๆ เช่น สัญญาณไฟจราจร


2. ระบบเปิด (Open System) ระบบที่มีการโต้ตอบกับระบบอื่นๆ เช่ ATM กดเงิน 5000 ออกมา 2000 ทำให้เราต้องติดต่อระบบที่ธนาคาร นั่นเอง

นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ( ชั่วโมงที่ 5 )


ระดับการเรียนรู้ของ Bloom

     1. ความรู้ที่เกิดจากการจำ (Knowledge) ซึ่งเป็นระดับล่างสุด
     2. ความเข้าใจ (Comprehend)
     3. การประยุกต์ (Application)
     4. การวิเคราะห์ (Analysis) สามารถแก้ปัญหาได้
     5. การสังเคราะห์ (Synthesis)
     6. การประเมินค่า (Evaluation) วัดได้


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Mayer

     ในการออกแบบสื่อการเรียนการสอน การวิเคราะห์ ความจำเป็น เป็นสิ่งสำคัญและตามด้วยจุดประสงค์ของการเรียนโดยแบ่งออกเป็นส่วนย่อยๆ 3 ส่วนด้วยกัน

1. พฤติกรรม ควรชี้ชัดและสังเกตได้
2. เงื่อนไข พฤติกรรมนั้นจะสำเร็จได้ ควรมีเงื่อนไขการช่วยเหลือ
3. มาตรฐาน พฤติกรรมที่ได้นั้นสามารถอยู่ในเกณฑ์ที่กำหนด


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Bruner

     1. ความรู้หรือการเรียนรู้ถูกสร้างหรือถูกหล่อหลอมด้วยประสบการณ์
     2. ผู้เรียนมีบทบาทรับผิดชอบในการเรียน
     3. ผู้เรียนเป็นผู้สร้างความหมายขึ้นมาจากแง่มุมต่างๆ
     4. ผู้เรียนอยู่ในสภาพแวดล้อมที่เป็นจริง
     5. ผู้เรียนเลือกเนื้อหาและกิจกรรมเอง
     6. เนื้อหาควรถูกมองในภาพรวม

การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Tylor

     1. ความต่อเนื่อง (Continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆและต่อเนื่อง
     2. การจัดช่วงลำดับ (Sequence) หมายถึง การจัดสิ่งที่มีความง่ายไปสู่สิ่งที่มีความยาก
     3. บูรณาการ (Integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์ ควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและแสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน


การเรียนรู้ตามทฤษฎีของ Gagne

     1. การจูงใจ (Motivation Phase)
     2. การรับรู้ตามเป้าหมายที่ตั้งไว้ (Apprehending Phase)
     3. การปรุงแต่งสิ่งที่รับรู้ไว้เป็นความจำ (Acquisition Phase)
     4. ความสามารถในการจำ (Retention Phase)
     5. ความสามารถ ในการระลึกถึงสิ่งที่ได้เรียนรู้ไปแล้ว (Recall Phase)
     6. การรำไปประยุกต์ใช้กับสิ่งที่เรียนรู้ไปแล้ว (Generalization Phase)
     7. การแสดงออกพฤติกรรมที่เรียนรู้ (Performance Phase)
     8. การแสดงผลการเรียนรู้กลับไปยังผู้เรียน (Feedback Phase)


     การเรียนรู้เริ่มเกิดเมื่อมีสิ่งเร้ามากระตุ้นบุคคล ระบบประสาทจะตื่นตัวเกิดการรับสัมผัสทั้ง 5 แล้วส่งกระแสประสาทไปยังสมองเพื่อแปลความหมายโดยอาศัยประสบการณ์เดิมเป็นการรับรู้ใหม่ อาจสอดคล้องหรือแตกต่างไปจากประสบการณ์เดิม แล้วสรุปผลของการรับรู้นั้น เป็นความเข้าใจหรือความคิดรวบยอดและมีปฏิกิริยาตอบสนองอย่างใดอย่างหนึ่งต่อสิ่งเร้าตามที่รับรู้ซึ่งทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรม แสดงว่าเกิดการเรียนรู้


Stimuls   >   Sensation   >   Perception   >   Concept   >   Response   >   Learning
สิ่งเร้า         ประสาทสัมผัส       การรับรู้        การคิดรวบยอด  การตอบสนอง    เกิดการเรียนรู้




การรับรู้ (Perception)

     การรับรู้ เป็นพื้นฐานการเรียนรู้ที่สำคัญของบุคคล เพราะการตอบสนองพฤติกรรมใดๆ จะขึ้นอยู่กับ การรับรู้จากสภาพแวดล้อมของตน และความสามารถในการเเปลควาหมายของสภาพนั้นๆ ดังนั้นการเรียนรู้ที่มีประสิทธิภาพจึงขึ้นอยู่กับการรับรู้และสิ่งเร้าที่มีประสิทธิภาพซึ่งปัจจัยการรับรู้ประกอบด้วย ประสาทสัมผัส และ ปัจจัยทางจิต เแก่ ความรู้เดิม ความต้องการ และเจตคติ เป็นต้น


หลักการรับรู้ในทางการศึกษาที่สำคัญ

     1. การรับรู้จะพัฒนาตามวัย และความสามารถทางสติปัญญาที่จะรับรู้สิ่งภายนอกอย่างถูกต้องเหมาะสม
     2. การรับรู้โดยการเห็น จะก่อให้เกิดความเข้าใจดีกว่าการได้ยิน และประสาทสัมผัสอื่นๆ ดังนั้นการเรียนรู้โดยผ่านประสาทสัมผัสมาก จะก่อให้เกิดความเข้าใจที่สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
     3. ลักษณะและวิธีการรับรู้ของแต่ละคน จะแตกต่างกันตามพื้นฐานของบุคลิกภาพ และจะแสดงออกตามที่ได้รับรู้และเจตคติของเขา
     4. การเข้าใจผู้เรียนทั้งในด้านคุณลักษณะและสภาพแวดล้อม จะเป็นผลดีต่อการจัดการเรียนการสอน


การถ่ายโยงการเรียนรู้ (Transfer of Learning)

     1. Thorndike กล่าวถึง การถ่ายโยงการเรียนรู้จากสถานการณ์หนึ่งไปสู่อีกสถานการณ์หนึ่งว่า สถานการณ์ทั้ง 2 จะต้องมีองค์ประกอบที่คล้ายคลึงกัน คือ เนื้อหา วิธีการ และเจตคติที่สัมพันธ์กันกับสถานการณ์เดิม
     2. Gestalt กล่าวว่า การถ่ายโยงการเรียนรู้จะเกิดขึ้นเมื่อผู้เรียนได้มองเห็นรูปร่างทั้งหมดของปัญหาและรับรู้ความสัมพันธ์นั้นเข้าไป กล่าวคือ สถานการณ์ใหม่จะต้องสัมพันธ์กับสถานการณ์เดิม


หลักการและแนวคิดที่สำคัญเกี่ยวกับการถ่ายโยงการเรียนรู้

     1. การถ่ายโยง ควรจะต้องปลูกฝังความรู้ความคิด เกี่ยวกับกฏเกณฑ์ต่างๆ เป็นพื้นฐานที่สามารถนำไปใช้ในสถานการณ์ที่คล้ายคลึงกัน
     2. ผู้สอนควใช้วิธีการแก้ปัญหา หรือวิธีการเรียนรู้ เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีโอกาสคิดและเกิดทักษะอย่างกว้างขวาง ซึ่งจะเป็นวิธีการที่ช่วยให้เห็นความสัมพันธ์ของความรู้
     3. การถ่ายโยงจะเกี่ยวข้องกับความแตกต่างระหว่างบุคคล กิจกรรมการเรียนการสอน จึงต้องคำนึงหลักการดังกล่าว


การสื่อความหมาย (Communication)

     การสื่อความหมายเป็นพฤติกรรมสำคัญที่สัตว์สังคมทุกชนิดใช้เป็นเครื่องมือในการติดต่อซึ่งกันและกัน แสดงถึงความเป็นหมู่เหล่าเผ่าพันธุ์เดียวกัน รากศัพท์จากภาษาลาตินว่า Communis หรือ Commus แปลว่า คล้ายคลึง หรือร่วมกันวซึ่งตรงกับภาษาอังกฤษว่า Communication

     การสื่อความหมายจึงเป็นกระบวนการส่งหรือถ่ายทอดความรู้ เนื้อหาสาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จากบุคคลฝ่ายหนึ่ง ซึ่งเรียกว่า "ผู้ส่ง" ไปยังบุคคลอีกฝ่ายหนึ่งซึ่งเรียกว่า "ผู้รับ" เราสามารถส่งข้อมูลได้โดยทางภาพ หรือ ทางเสียง


โครงสร้างและองค์ประกอบของกระบวนการสื่อความหมาย

     1. ผู้ส่ง (Source or Sender) แหล่งกำเนิดสาร เป็นสัตว์หรือหน่วยงานก็ได้
     2. สาร (Message) คือ เนื้อหาสาระ ทัศนคติ ทักษะ ประสบการณ์ที่มีอยู่ในตัวผู้ส่งหรือแหล่งกำเนิด
     3. ช่องทาง (Channel) คือช่องทางต่างๆที่ใช้ในการรับรู้สาร ได้แก่ หู ตา จมูก ปาก เป็นต้น
     4. ผู้รับ (Receiver) คือบุคคล องค์การ หรือหน่วยงานที่รับรู้สารจากผู้ส่ง เข้าสู่ตนเอง

สรุปความสัมพันธ์ของการรับรู้ การเรียนรู้ และการสื่อความหมาย

     จากที่กล่าวมา การเรียนรู้เป็นกระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวรอันเนื่องเป็นผลมาจากประสบการณ์หรือการปฏิบัติซ้ำๆบ่อยๆ โดยรับรู้ทางประสาทสัมผัสทั้ง 5  เมื่อเกิดกระบวนการทั้ง 2 อย่างนี้แล้วก็จะทำให้สามารถถ่ายทอดความรู้ความสามารถ เนื้อหา สาระ ความรู้สึกนึกคิด ทัศนคติ ค่านิยม ทักษะ ตลอดจนประสบการณ์จาก ผู้ส่ง ไปยัง ผู้รับ ได้อย่างถูกต้องแม่นยำ