วันอาทิตย์ที่ 15 ธันวาคม พ.ศ. 2556

นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ( ชั่วโมงที่ 4 )

 การเรียนรู้และการสื่อความหมาย

     เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาเป็นสิ่งที่มนุษย์คิดขึ้นเพื่อแก้ปัญหาทางการศึกษาโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ปัญหาด้านการเรียนการสอนหรือการถ่ายทอดความรู้ความคิดต่างๆ แก่บุคคลหรือกลุ่มคนซึ่งบุคคลหรือกลุ่มคน ดังกล่าวมีจิตใจอารมณ์ความรู้สึกนึกคิด มีความสามารถในการรับรู้หรือเรียนรู้ไม่คงที่แน่นอน

     ดังนั้นการใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการศึกษาในการเรียนการสอนจึงจำเป็นต้องใช้ให้สอดคล้องกับปัจจัยทางธรรมชาติของมนุษย์ คือจะต้องอาศัยทฤษฎีและหลักการทางจิตวิทยาการเรียนรู้การสื่อสารรวมทั้งสิ่งแวดล้อมอื่นๆที่จะช่วยให้เกิดการเรียนรู้ได้ดีที่สุด


ความหมายของการเรียนรู้

การเรียนรู้ หมายถึง กระบวนการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมที่ค่อนข้างถาวร เป็นผลเนื่องจากประสบการณ์หรือการกระทำที่ย้ำบ่อยๆ

องค์ประกอบของการเรียนรู้
    1. แรงขับ (Drive)
    2. สิ่งเร้า (Stimulus)
    3. การตอบสนอง (Response)
    4. การเสริมแรง (Reinforcement)

     1. แรงขับ (Drive) คือ ความต้องการที่เกิดขึ้นภายในตัวบุคคล เป็นความพร้อมที่จะเรียนรู้ของแต่ละบุคคลซึ่งแรงขับและความพร้อมเหล่านี้จะก่อให้กิดปฏิกิริยาหรือพฤติกรรมที่ชักนำไปสู่การเรียนรู้

     2. สิ่งเร้า (Stimulus) คือ สิ่งแวดล้อมที่เกิดขึ้นในสถานการณ์ต่างๆซึ่งเป็นตัวที่ทำให้บุคลแสดงการตอบสนองออกมา
     3. การตอบสนอง (Response) คือ พฤติกรรมต่างๆที่แสดงออกมาเมื่อบุคคลได้รับการกระตุ้นจากสิ่งเร้า

     4. การเสริมแรง (Reinforcement) เป็นสิ่งที่มีอิทธิพลต่อบุคคลอันมีผลในการเพิ่มพลังให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างสิ่งเร้าและการตอบสนองเพิ่มขึ้น การเสริมแรงมีทั้งทางบวกและทางลบ


จุดมุ่งหมายของการเรียนรู้

     พฤติกรรมการเรียนรู้ตามจุดมุ่งหมายในแนวคิดของบลูม และคณะ มุ่งพัฒนาผู้เรียนใน 3 ด้านดังนี้

1. ด้านพุทธิพิสัย (Cognitive Domain) คือผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถทางสมอง ครอบคลุมพฤติกรรมประเภทความจำความเข้าใจ การนำไปใช้ การวิเคราะห์ สังเคราะห์และประเมินผล

2. ด้านจิตพิสัย (Affective Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงด้านความรู้สึก ทัศนคติ และค่านิยม

3. ด้านทักษะพิสัย (Psychomotor Domain) คือ ผลของการเรียนรู้ที่เป็นความสามารถด้านการปฏิบัติ การเคลื่อนไหว การมีทักษะและความชำนาญ


ลำดับขั้นของการเรียนรู้

     ในการเรียนรู้ของคนเรานั้นจะประกอบด้วยลำดับขั้นตอนพื้นฐานที่สำคัญด้วยกัน 3 ขั้นตอน คือ

1. ประสบการณ์ (Experiences) ในบุคคลปกติทุกคนจะมีประสาทสัมผัสที่เป็นที่เข้าใจก็คือ ประสาทสัมผัสทั้ง 5 ได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น และผิวหนัง ประสาทสัมผัสรับรู้เหล่านี้จะเป็นเสมือนช่องประตูที่จะทำให้บุคคลได้รับรู้และตอบสนองต่อสิ่งเร้าต่างๆ
2. ความเข้าใจ (Understanding) ก็คือการตีความหมายหรือการสร้างมโนมติ (Concept) ในประสบการณ์นั้น กระบวนการนี้ก่อให้เกิดขึ้นในสมองหรือจิตของบุคคล
3. ความนึกคิด (Thinking) ความนึกคิดถือเป็นขั้นสุดท้ายของการเรียนรู้

     ตัวอย่างนักจิตวิทยาที่มีความโดดเด่นทางด้านทฤษฎีเกี่ยวกับการเรียนรู้ เช่น Bloom, Mayer, Bruner, Tylor และ Gagne

นวัตกรรม เทคโนโลยีและสารสนเทศทางการศึกษา ( ชั่วโมงที่ 3 )

แนวคิดพื้นฐานของนวัตกรรมทางการศึกษา Innovation in Education

ปัจจัยสำคัญ ได้แก่ แนวคิดพื้นฐานทางการศึกษาที่เปลี่ยนแปลงไป อันมีผลทำให้เกิดนวัตกรรมทา
การศึกษา ที่สำคัญๆ พอจะสรุปได้ 4 ประการ ดังต่อไปนี้

1. ความแตกต่างระหว่างบุคคล (Individual Difference) การจัดการศึกษาของไทย ให้ความสำคัญคือ เน้นจัดการศึกษาตามความถนัด ความสนใจ และความสามารถของแต่ละคนเป็นเกณฑ์ เช่น การจัดระบบห้องเรียนโดยใช้อายุเป็นเกณฑ์
   1.1 การเรียนไม่แบ่งชั้น (Non-Graded School) เช่น โรงเรียนแบบศาลาวัด ที่ ร.ร. สาธิตแห่งมหาวิทายลัยขอนแก่น
   1.2 การเรียนสำเร็จรูป (Programmed Text Book)
   1.3 เครื่องสอน (Teaching Machine)
   1.4 การสอนเป็นคณะ (Team Teaching)
   1.5 การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School)
   1.6 คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction)

2. ความพร้อม (Readiness) เดิมเชื่อกันว่า เด็กจะเริ่มเรียนได้เมื่อพร้อม เป็นเรื่องของพัฒนาการตามธรรมชาติ แต่ปัจจุบันการวิจัยทางจิตวิทยาได้ชี้ให้เห็นว่า ความพร้อมในการเรียนสามารถสร้างขึ้นได้ ถ้าหากจัดบทเรียนให้พอเหมาะกับระดับความสามารถของเด็กแต่ละคน นวัตกรรมที่ตอบสนองแนวความคิดพื้นฐานนี้ได้แก่ ศูนย์การเรียน (Learning Center) การจัดโรงเรียนในโรงเรียน (School within School) การปรับปรุงการสอน 3 ชั้น (Instructional Development in 3 Phases)

3. การใช้เวลาเพื่อการศึกษา แต่เดิมมา การจัดเวลาเพื่อการสอน หรือตารางการสอนมักจัดโดยอาศัยความสะดวกเป็นเกณฑ์ เช่น ถือหน่วยเวลาเป็นชั่วโมง เท่ากันทุกวิชาทุกวัน  แต่ปัจจุบันนั้นได้มีความคิดในการจัดป็นหน่วยเวลาสอนให้สัมพันธ์กับลักษณะของแต่ละวิชา ซึ่งอาจจะใช้เวลาไม่เท่ากัน บางวิชาอาจจะใช้ช่วงสั้นๆ แต่สอนบ่อยครั้ง การเรียนก็ไม่จำกัดอยู่แต่ในห้องเรียนเท่านั้น นวัตกรรมที่สนองแนวความคิดพื้นฐานด้านนี้ เช่น การจัดตารางสอนแบบยืดหยุ่น (Flexible Scheduling) มหาวิทยาลัยเปิด (Open University) แบบเรียนสำเร็จรูป (Programmed Instruction) การเรียนทางไปรษณีย์

4. ประสิทธิภาพในการเรียน การขยายตัวทางวิชาการและการเปลี่ยนแปลงของสังคม ทำให้มีสิ่งต่างๆ ที่คนจะต้องเรียนรู้เพิ่มขึ้นมาก แต่การจัดระบบการศึกษาในปัจจุบันยังไม่มีประสิทธิภาพเพียงพอ จึงจำเป็นต้องแสวงหาวิธีการใหม่ที่มีประสิทธิภาพสูงขึ้น และปัจจัยภายนอก นวัตกรรมในด้านนี้ที่เกิดขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยเปิด การเรียนทางวิทยุ การเรียนทางโทรทัศน์ การเรียนทางไปรษณีย์หรือแบบเรียนสำเร็จรูป ชุดการเรียน


     นวัตกรรมทางการศึกษาต่างๆ ที่กล่าวถึงกันมากในปัจจุบัน

- E-learning